
จังหวัดอุบลฯ จับมือประสานใจ จัดงานประเพณีแห่เทียนพรรษายิ่งใหญ่ จัดเต็มรูปแบบอีกครั้ง!! ในปีนี้
” 121 ปี ทวยราษฎร์ใฝ่ธรรม งามล้ำเทียนพรรษา” งานประเพณีแห่เทียนพรรษา จ.อุบลราชธานี ประจำปี 2565

บ่ายวันนี้ (9 กรกฎาคม 2565) ที่ห้องประชุมปทุมวรราช ชั้น ๔ ศาลากลางจังหวัดอุบลราชธานี นายพงศ์รัตน์ ภิรมย์รัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี ,นายสมเจตน์ เต็มมงคล ปลัดจังหวัดอุบลราชธานี ,นายธงชัย แสนทวีสุข ผู้อำนวยการสำนักงานการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานอุบลราชธานี ,นางสาวพิศทยา ไชยสงคราม นายกเทศมนตรีนครอุบลราชธานี ,นายอดุลย์ นิลเปรม ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดอุบลราชธานี รวมถึงตัวแทนจากหน่วยงานภาครัฐฯ เอกชนและสื่อมวลชนทุกแขนง ร่วมกันหารือแนวทางการให้ข้อมูลและการเตรียมความพร้อมการจัดงานประเพณีแห่เทียนพรรษาปี ๒๕๖๕ ภายใต้ชื่องาน “ 121 ปี ทวยราษฎร์ใฝ่ธรรม งามล้ำเทียนพรรษา”



โดยจังหวัดอุบลราชธานี ร่วมกับภาครัฐ เอกชน องค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่น และสถาบันการศึกษา จัดงานประเพณีแห่เทียนพรรษา ประจำปี 2565 ภายใต้ชื่องาน “ 121 ปี ทวยราษฎร์ใฝ่ธรรม งามล้ำเทียนพรรษา” เพื่อเป็นการสืบสานประเพณีของชาวอีสานตามแนวคิด ฮีต 12 ครอง 14 หรือประเพณีเดือน 8 หรือประเพณีวันเข้าพรรษา ซึ่งตรงกับวันแรม 1 ค่ำ โดยชาวจังหวัดอุบลราชธานีปฏิบัติสืบต่อกันมา ตั้งแต่อดีตจนปัจจุบัน เพื่อเป็นการอนุรักษ์ รักษาประเพณี วัฒนธรรมอันดีงาม ของจังหวัดอุบลราชธานีให้คงอยู่สืบไป และเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวไทย


โดยมีกิจกกรมให้นักท่องเที่ยวและประชาชนได้ชมก่อนและหลังงานประเพณีแห่เทียน ดังนี้
1.กิจกรรมเยือนชุมชน ชมวิถีทำเทียน วันที่ 1-12 กรกฎาคม 2565 ( ซึ่งเป็นกิจกรรมก่อนงาน ) ชมการตกแต่งต้นเทียนของคุ้มวัดต่างๆ ในเขตเทศบาลนครอุบลราชธานี และอำเภอวารินชำราบ โดยมีชุมชนคุ้มวัด ที่จัดทำต้นเทียนเข้าร่วมประกวดจำนวน 13 แห่ง ให้นักท่องเที่ยวสามารถเข้าไปร่วมกิจกรรมเช็คอิน และรับของที่ระลึกจากการร่วมกิจกรรม
2.กิจกรรมเทียนอุบล ยลได้ตลอดเดือน (กิจกรรมต่อจากสิ้นสุดแห่เทียน ต่อจากวันที่ 17 กรกฎาคม 2565 ) โดยมีคุ้มวัดในเขตเทศบาลนครอุบลราชธานี ได้แก่ วัดมหาวนาราม วัดบูรพา วัดแจ้ง วัดพลแพน วัดพระธาตุหนองบัว วัดผาสุการาม และ ศูนย์การเรียนรู้วัดศรีประดู่ เปิดให้ประชาชนและนักท่องเที่ยวได้ชื่นชมความงดงามของต้นเทียน ตลอดเดือนกรกฎาคม 2565 ส่งเสริมการท่องเที่ยวไทย
สำหรับกิจกรรมวันที่ 11-17 กรกฎาคม 2565
1.กิจกรรมการจำหน่ายสินค้าชุมชน OTOP บริเวณลานเทียน ทุ่งศรีมือง การจำหน่ายและจัดแสดงสินค้า ผลิตภัณฑ์ชุมชนของกลุ่มอาชีพต่างๆ ด้วยการนำสินค้ามาจัดจำหน่ายหรือจัดแสดง เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้นักท่องเที่ยวซื้อหรือสั่งโดยตรงและทางระบบแสดง QR Code / ออนไลน์
2.การแสดงแสง เสียง ประกอบขบวนแห่เทียนภาคกลางคืน จุดที่ 1 บริเวณหน้าวัดศรีอุบล
รัตนาราม จุดที่ 2 บริเวณหน้าลานขวัญเมือง (หน้าศาลากลางจังหวัดอุบลราชธานีหลังเก่า).ชมขบวนแห่เทียนพรรษาที่งดงามตระการตาประกอบแสงเสียงภาคกลางคืนชมการแสดงศิลปวัฒนธรรมประกอบแสง เสียง ภาคกลางคืน (ลูกอีสาน) ในวันที่ 13-14 กรกฎาคม 2565 เวลา 18.00 น
3.พิธีปล่อยขบวนแห่เทียนพรรษา ประจำปี 2565 ณ บริเวณหน้าวัดศรีอุบลรัตนารา เวลา 08.30 น. วันที่ 14 กรกฎาคม 2565 ชมขบวนต้นเทียน ประเภทแกะสลัก ประเภทติดพิมพ์ และประเภทเทียนโบราณจากคุ้มวัด อำเภอ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่เข้าร่วมงานตกแต่งเกี่ยวกับ พระพุทธศาสนา จำนวน 35 ต้น วัฒนธรรม ประเพณีท้องถิ่น เอกลักษณ์ และอัตลักษณ์เมือง อุบลราชธานี และขบวนการแสดง จำนวน 17 ขบวน เพื่อแสดงถึงศิลปะ วัฒนธรรมประเพณี และภูมิปัญญา ของชาวอีสาน
โดยมีจุดการแสดง จำนวน 5 จุด ให้นักท่องเที่ยวได้ชม โดยเริ่มตั้งแต่บริเวณปะรำ พิธีหน้าวัดศรีอุบลรัตนาราม หน้าลานขวัญเมือง (ศาลากลางจังหวัดอุบลราชธานีหลังเก่า) หน้าอุบลพลาซ่า/หน้าศาลแขวงจังหวัด อุบลราชธานี และจุดข้างโรงเรียนอนุบาล


ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี ขอเชิญชวนนักท่องเที่ยว เที่ยวงานประเพณีแห่เทียนพรรษา ประจำปี 2565 ภายใต้ชื่องาน “ 121 ปี ทวยราษฎร์ใฝ่ธรรม งามล้ำเทียนพรรษา” ตั้งแต่วันที่ 11-17 กรกฎาคม 2565 โดยการจัดงานมีการควบคุมและการป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 สำหรับนักท่องเที่ยว ผู้เดินทางภายในงานต้องได้รับวัคซีนครบโดส ปฏิบัติตามมาตรการของกระทรวงสาธารณสุขอย่างเคร่งครัด เช่น เว้นระยะห่าง และสวมหน้ากากอนามัย ตลอดงาน




เมืองเรืองแสงบนผ้าพิมพ์ลายธรรมชาติ ECO Printing
Advertisements Share List ผ้าพิมพ์ลายธรรมชาติ ECO Printing โครงการดีๆ จากมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี จัดขึ้นระหว่างวันที่ 12-13 มิถุนายนที่ผ่านมา ณ เมืองเรืองแสง ตำบลช่องเม็ก อำเภอสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี นำโดยอาจารย์เขมจิรา หนองเป็ด หัวหน้าโครงการวิจัย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จันทร์เพ็ญ อินทรประเสริฐ และคณะ ร่วมกันให้ความรู้และแนะนำเทคนิคสำคัญสำหรับการพิมพ์ลายใบไม้ที่ใช้ความร้อนเป็นตัวกลางในการสกัดและถ่ายเทสีจากใบไม้ ดอกไม้ลงสู่ผืนผ้า ทำให้เกิดลวดลายและสีสันที่งดงาม แปลกตา โครงการนี้ได้รับความสนใจจากคนในชุมชนช่องเม็กที่กำลังมองหาโอกาสและความรู้ใหม่ๆ เพื่อนำไปพัฒนาและต่อยอดผลิตภัณฑ์ในชุมชน เป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มโดยหวังสร้างอาชีพและเพิ่มรายได้ให้แก่คนในชุมชนต่อไป ภาพ/รายงาน : น.ส.กนกภรณ์ ตาดี #ชุมชนคุณธรรม #เมืองเรืองแสง #ผ้าพิมพ์ลายธรรมชาติ #บ้านช่องเม็ก