ผูกสัมพันธ์วิถีสองฝั่งโขง “สามพันโบก” ถึง “สี่พันขุม” เปิดประตูเมืองรองสู่ประเทศเพื่อนบ้านและอาเซี่ยน
วอนรัฐเร่งส่งเสริมเปิดประตูเมืองรองสู่ประเทศเพื่อนบ้านและอาเซี่ยน
เมื่อวันที่ 6 ม.ค.ที่ผ่านมา เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันสถาปนาความสัมพันธ์ด้านการท่องเที่ยว วัฒนธรรมและเศรษฐกิจในระดับท้องถิ่นของพื้นที่ “สามพันโบก” อำเภอโพธิ์ไทร จ.อุบลราชธานี และแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ “สี่พันขุม” ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) ณ บริเวณลานวัฒนธรรม บ้านท่าคำซุมซัว เมืองละคอนเพ็ง แขวงสาละวัน สปป.ลาว

นายสุริยัน กิจสวัสดิ์ ผู้อำนวยการอุทยานธรณี ผาชัน–สามพันโบก (ครอบคลุมพื้นที่ในเขตอำเภอโพธิ์ไทร อำเภอศรีเมืองใหม่ อำเภอโขงเจียม และอำเภอสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี) อดีตนายอำเภอโพธิ์ไทร, พร้อมคณะฝ่ายไทย ประกอบด้วย นายเชษฐา ไชยสัตย์ กรรมการพัฒนาการท่องเที่ยวและกีฬา จ.อุบลราชธานี, นายธนกฤต สายใจ สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี เขตอำเภอโพธิ์ไทร (ส.อบจ.), นายณัฐพงษ์ ศรีกฤษ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลสำโรง อ.โพธิ์ไทร, นาวาโท สัญญา ณ จอม (รน.) หัวหน้าสถานีเรือเขมราฐ หน่วยเรือรักษาความสงบเรียบร้อยตามลำแม่น้ำโขง (นรข.) เขตอุบลราชธานี, พร้อมด้วยผู้แทนหน่วยงานด้านความมั่นคง, ฝ่ายปกครอง, หน่วยตำรวจตะเวนชายแดน, หน่วยตำรวจตรวจคนเข้าเมือง, ผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยวและปราชญ์ชุมชนในพื้นที่ ได้ร่วมเดินทางเยือนประเทศ สปป.ลาวด้วยเรือยนต์โดยสารท้องถิ่นที่มีความปลอดภัยสูงเพื่อเชื่อมความสัมพันธ์ในระดับพื้นที่อย่างไม่เป็นทางการตามประเพณีปฏิบัติซึ่งมีต่อกันมาอย่างยาวนาน

นายสุริยัน ได้กล่าวว่า การเดินทางครั้งนี้เพื่อกระชับความสัมพันธ์ในระดับท้องถิ่น และร่วมหารือแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น ซึ่งโดยรวมแล้วเกิดคุณูปการต่อประชาชนทั้งสองประเทศเป็นอย่างมาก โดยทางฝ่าย สปป.ลาว ที่มาให้การต้อนรับ นำโดยท่านพูนสุก ลัดถะเฮา รองเจ้าเมืองฝ่ายเศรษฐกิจ, ท่านหนูชัย จันดาวงศ์ รองเจ้าเมืองฝ่ายวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว, ท่านสุก มิ่งมหาวงศ์ นายบ้านท่าคำซุมซัว, ท่านบุญธรรมรอบคอบ เลขาธิการพรรคประชาชนปฏิวัติลาว ประจำพื้นที่, เจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงและพี่น้องประชาชนลาวจำนวนมากมาร่วมให้การต้อนรับและเป็นเจ้าภาพเลี้ยงอาหารกลางวันแก่ฝ่ายไทยด้วยความประทับใจยิ่ง
นายเชษฐา ไชยสัตย์ กรรมการพัฒนาการท่องเที่ยวและกีฬา จ.อุบลราชธานี กล่าวเพิ่มเติมว่า ความงดงามแห่งวิถีชีวิตคนสองฝั่งโขง เชื่อมโยงจาก “สามพันโบก” มาสู่พื้นที่ “สี่พันขุม” อันประกอบด้วย จุดท่องเที่ยวหลากหลายฝั่ง สปป.ลาว อาทิ หนองผักแว่น, สะพานหินธรรมชาตินางนี, ถ้ำพวง, หัวพญานาค, และ 4,000 ขุม อีกทั้งการท่องเที่ยวเชิงเกษตร, อาหารพื้นถิ่น, วัฒนธรรมและประเพณีท้องถิ่น มีเสน่ห์อย่างน่าหลงใหล เสริมศักยภาพการท่องเที่ยวเมืองรอง เชื่อมโยงประเทศเพื่อนบ้านเปิดประตูต้อนรับผู้มาเยือนและนักท่องเที่ยวในภูมิภาคอาเซียนจากประเทศสาธารณสังคมนิยมเวียดนาม ผ่าน สปป.ลาว เข้าพื้นที่ได้สองช่องทางคือ ด่านพรมแดนหลักที่ บ้านปากแซง อำเภอนาตาล, ด่านประเพณีแห่งนี้ ที่จุดลงเรือสามพันโบก และหาดสลึง (กรณีไม่พักค้างแรม) และในอนาคตอันใกล้ที่สะพานมิตรภาพแห่งที่ 6 เชื่อมอำเภอนาตาล จ.อุบลราชธานี สู่แขวงสาละวัน สปป.ลาว ต่อไปยังประเทศเวียดนาม (ประชากร 80 ล้านคน)

ทางด้านแผนกแถลงข่าววัฒนธรรมและท่องเที่ยว แขวงสาละวัน สปป.ลาว ได้อนุญาตให้ ผู้ประกอบการลาว บริษัท เกรียงไกร ท่องเที่ยว จำกัด แขวงสาละวัน โดยนางทองดา บัวถา (ผู้มีอำนาจ) และนายเที่ยง บัวถา ผู้บุกเบิกแหล่งท่องเที่ยวสี่พันขุม เป็นผู้ประสานงานดูแลผู้มาเยือนแบบไม่พักค้างคืนได้ ณ ด่านประเพณี “สามพันโบก–สี่พันขุม”
แหล่งข่าวในพื้นที่กล่าวว่า การส่งเสริมด้านการตลาดในพื้นที่ของภาครัฐ ยังไม่มีปฏิบัติการในเชิงรุก “สามพันโบก” เป็นจุดเด่นของจังหวัดอุบลราชธานี หายไปจากเส้นทางท่องเที่ยวไประยะหนึ่ง เนื่องจากการเขียนแผนของภาครัฐที่อาจขาดการมีส่วนร่วมของประชาชน, แต่กลับมารู้สึกยินดีที่ปฏิทินของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย 2562 ปรากฎภาพ “สามพันโบก” ในเดือนแรกของปี อีกครั้ง..
ด้วยคำว่า “มหัศจรรย์เมืองไทย เก๋ไก๋ทุกมุมมอง” ฤดูกาลท่องเที่ยว: พฤศจิกายนถึงพฤษภาคม
“มหัศจรรย์แห่งรูปลักษณ์ของแผ่นหินทราย ที่ถูกสายธารขัดเซาะกร่อนเกลามานานนับพันปี จนเกิดเป็นหลุมหลากหลายรูปร่าง ในนามสามพันโบก”
ขอขอบคุณ: ชุมชนบ้านปากกะหลาง–สองคอน (สามพันโบก) อำเภอโพธิ์ไทร จ.อุบลราชธานี ที่เอื้อเฟื้อข้อมูลและภาพ
ศรีสะเกษจัดหลักสูตร "ยกระดับฝีมือผู้ประกอบการโฮมสเตย์"
Advertisements Share List ศรีสะเกษจัดหลักสูตร “ยกระดับฝีมือผู้ประกอบการโฮมสเตย์” เมื่อวันที่ 28 ม.ค. 2562 จังหวัดศรีสะเกษ, นายสรรชัย ชอบพิมาย ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงานศรีสะเกษ จัดโครงการบรรยายพิเศษให้แก่ผู้นำชุมชนต้นแบบ เรื่อง “การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม วิถีชีวิตชนบทและความคาดหวังของผู้มาเยือน” และ “การบริหารจัดการธุรกิจโฮมสเตย์ให้ยั่งยืน” โดยนายเชษฐา ไชยสัตย์ วิทยากรผู้เชี่ยวชาญด้านการท่องเที่ยวโดยชุมชน ในฐานะที่ปรึกษาประธานสภาอุตสาหกรรมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นายอนุสรณ์ ชาติชูเหลี่ยม นักวิชาการพัฒนาฝีมือแรงงานชำนาญการ ได้กล่าวให้รายละเอียดเพิ่มเติมว่า การดำเนินการในครั้งนี้ อยู่ภายใต้โครงการพัฒนาฝีมือแรงงาน เพื่อยกระดับทักษะในการประกอบอาชีพ, ส่งเสริมการค้าการลงทุนและบริการของกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตอนล่าง 2 แบบบูรณาการจังหวัดศรีสะเกษ ประจำปีงบประมาณ 2562 “หลักสูตรการยกระดับฝีมือ สาขา ผู้ประกอบการโฮมสเตย์ (60 ชั่วโมง) ระหว่างวันที่ 21-30 มกราคม 2562 ณ กลุ่มโฮมสเตย์บ้านด่าน อ.ราษีไศล จ.ศรีสะเกษ ทางด้านที่ปรึกษาประธานสภาอุตสาหกรรม ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้กล่าวสรุปว่า นับเป็นโครงการที่ดีจากภาครัฐและภาคประชาสังคม ที่ได้ร่วมมือกันเพื่อส่งเสริมความรู้พื้นฐานในมาตรฐานการจัดการโฮมสเตย์ ให้แก่ชุมชนที่มีความพร้อม […]