
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี จัดพิธีตัดช่อดอกกัญชา “ช่อปฐมฤกษ์ จังหวัดอุบลราชธานี” โดยมี
นายแพทย์ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 10 ,นายวิรุจ วิชัยบุญ รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี ,นายแพทย์ดนัย ธีวันดา สาธารณสุขนิเทศก์ เขตสุขภาพที่ 10 ,นางสาวจงกลนี ริยานุวัฒน์ ผู้ช่วยผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 10 ,นางศลิษา ภิรมย์รัตน์ ประธานแม่บ้านมหาดไทย จังหวัดอุบลราชธานี ,นายธานินทร์ ไชยานุกูล รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดอุบสราชธานี ,นายอภัย วุฒิโสภากร นายอำเภอสิรินธร ,พระครูปัญญาวโรบล เจ้าอาวาสวัดสิรินธรวรารามภูพร้าว ,พ.ต.ท.ณฐกร นบนอบ รองผู้กำกับการ ป้องกันปราบปราม สถานีตำรวจภูธรช่องเม็ก ร่วมทำพิธีตัดช่อดอกกัญชา “ช่อปฐมฤกษ์” จังหวัดอุบลราชธานี มุ่งสู่เป้าหมายใช้กัญชาเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้วยส่วนต่างๆ ของต้นกัญชา เพื่อสร้างรายได้ให้เกษตรกรเป็นการส่งเสริมเศรษฐกิจทางเลือกของจังหวัดอุบลราชธานี

นายธานินทร์ ไชยานุกูล รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดอุบสราชธานี ,นางสาวจงกลนี ริยานุวัฒน์ ผู้ช่วยผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 10 ,นายวิรุจ วิชัยบุญ รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี ,นายแพทย์ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 10 ,นางศลิษา ภิรมย์รัตน์ ประธานแม่บ้านมหาดไทย จังหวัดอุบลราชธานี ,นายแพทย์ดนัย ธีวันดา สาธารณสุขนิเทศก์ เขตสุขภาพที่ 10 ,นายอภัย วุฒิโสภากร นายอำเภอสิรินธร




นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี กล่าวตอนท้ายถึงพี่น้องประชาชนที่สนใจประโยชน์และสรรพคุณการรักษาด้วยกัญชาว่า ขณะนี้จังหวัดอุบลราชธานี มีการจัดบริการคลินิกกัญชาทางการแพทย์ในโรงพยาบาล ทั้งภาครัฐและเอกชน หากท่านต้องการรับการรักษาโดยใช้ผลิตภัณฑ์ยาที่มีส่วนผสมของกัญชา ท่านสามารถเข้ารับบริการ ณ โรงพยาบาลใกล้บ้านท่าน ส่วนผู้ประกอบการที่ต้องการซื้อวัตถุดิบกัญชาที่เป็นส่วนอื่นๆ ซึ่งไม่จัดเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 ได้แก่ ใบ, กิ่ง, ก้าน, ราก, เปลือก, ลำต้น, เส้นใย เพื่อนำไปผลิตเป็นผลิตภัณฑ์สุขภาพ ทั้งอาหาร (เช่น อาหารแปรรูป เครื่องดื่มในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท) เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์สมุนไพร รวมทั้งซื้อไปปรุงประกอบอาหารเพื่อจำหน่าย ขอให้ซื้อจากแหล่งปลูกที่ได้รับอนุญาต และขอเน้นย้ำว่า “กัญชา” ยังคงจัดเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 การปลูกกัญชายังคงต้องขออนุญาตตามกฎหมาย









นายสุวิทย์ โรจนศักดิ์โสธร นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี กล่าวว่า ภายหลังจากกระทรวงสาธารณสุข ประกาศปลดล็อกกัญชา-กัญชง จากบัญชียาเสพติดให้โทษ รวมถึงการอนุญาตให้นำส่วนประกอบอื่นที่ไม่จัดเป็นยาเสพติดประเภทที่ 5 ได้แก่ ใบ, กิ่ง, ก้าน, ราก, เปลือก, ลำต้น, เส้นใย ตลอดจนสารสกัด มาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ การศึกษาวิจัย การนำไปใช้เป็นส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์สุขภาพ รวมทั้งให้ประชาชนสามารถนำไปใช้ประกอบอาหารได้ โดยภายในระยะ 5 ปีหลังจากพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 7) พ.ศ.2562 ได้มีผลบังคับใช้ (ภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2567) การปลูกเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ หรือการรักษาผู้ป่วย เกษตรกรต้องรวมกลุ่มเป็นวิสาหกิจชุมชนภายใต้ความร่วมมือกับหน่วยงานของรัฐ เพื่อดำเนินการตามมาตรฐานและถูกกฎหมาย ประกอบกับกรมการแพทย์แผนไทย และการแพทย์ทางเลือก ได้จัดทำโครงการปลูกและแปรรูปกัญชา สำหรับใช้ทางการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้านไทยในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ร่วมวิสาหกิจชุมชนขึ้น (โครงการกรมแพทย์แผนไทย ระยะที่ 2 : 150 รพ.สต.) ซึ่งขณะนี้จังหวัดอุบลราชธานี มีผู้ประกอบการภายใต้โครงการฯ ที่ได้รับหนังสือสำคัญผลิต (ปลูก) ซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 แล้ว จำนวน 2 ราย ได้แก่
1.รพ.สต.ช่องเม็ก อำเภอสิรินธร ร่วมกับวิสาหกิจชุมชนอคิลานังเภสัชภิรมย์ อำเภอสิรินธร
2.รพ.สต.หนองเมือง อำเภอม่วงสามสิบ ร่วมกับวิสาหกิจชุมชนม่วงสามสิบเกษตรสมาร์ทฟาร์ม อำเภอม่วงสามสิบ
นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี กล่าวต่อไปว่า วันนี้ (27 ธ.ค. 64) สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี จึงได้กำหนดจัดพิธีตัดช่อดอกกัญชา “ช่อปฐมฤกษ์ จังหวัดอุบลราชธานี” ซึ่งเป็นผลผลิตของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านช่องเม็ก ร่วมกับ วิสาหกิจชุมชนอคิลานังเภสัชภิรมย์ โดยได้ดำเนินการภายใต้โครงการกรมแพทย์แผนไทย ระยะที่ 2 ดังกล่าวข้างต้น และเป็นไปตามแนวทางที่กฎหมายกำหนด ดังนี้
1. ใช้เมล็ดพันธุ์ไทยที่ได้รับการสนับสนุนจากกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก 120 เมล็ด ปลูกในแปลงปลูกภายในโรงเรือน เพาะปลูกได้ 2 รอบ/ปี ในพื้นที่ 48 ตารางเมตร ซึ่งผลผลิตที่คาดว่าจะได้จากการปลูกในรอบนี้ คือ กัญชาสด (ใบสดและช่อดอก) ประมาณ 50 กิโลกรัม (คิดเป็นน้ำหนักแห้ง 10 กิโลกรัม)
2. ผลผลิตวัตถุดิบส่วนยอดและช่อดอกกัญชา ซึ่งจัดเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 จำหน่ายผลผลิต กัญชาแห้งที่ได้จากการปลูกให้กับกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก เพื่อจัดเก็บเป็นวัตถุดิบกัญชาในคลังวัตถุดิบกัญชาของกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ซึ่งตั้งอยู่ที่กองพัฒนายาแผนไทยและสมุนไพร จ.ปทุมธานี โดยนำไปใช้ผลิตตำรับยาแผนไทยที่มีกัญชาปรุงผสมอยู่ เพื่อสนับสนุนการจัดบริการคลินิกกัญชาทางการแพทย์ในสถานบริการสาธารณสุขทั่วประเทศต่อไป
3. ผลผลิตวัตถุดิบส่วนอื่นๆ ซึ่งไม่จัดเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 ได้แก่ ใบ, กิ่ง, ก้าน, ราก, เปลือก, ลำต้น, เส้นใย สามารถจำหน่ายเพื่อเป็นวัตถุดิบ เพื่อใช้เป็นส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์สุขภาพ (ผลิตภัณฑ์สมุนไพร/อาหาร/เครื่องสำอาง) รวมทั้งให้ประชาชนสามารถนำไปใช้ปรุงประกอบอาหารเพื่อรับประทานได้ รวมทั้งผู้ประกอบการสามารถนำไปปรุงประกอบอาหารเป็นเมนูต่างๆ เพื่อจำหน่ายได้ ทั้งนี้ ต้องจัดทำรายงานการปลูก/การจำหน่าย แก่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ตามที่กฎหมายกำหนด
ซึ่งการจัดงานวันนี้ มุ่งสร้างต้นแบบในการดำเนินงานด้านกัญชาทางการแพทย์ ซึ่งเป็นแห่งแรกของจังหวัดอุบลราชธานี โดยจะเป็นแนวทางให้กับหน่วยงาน วิสาหกิจชุมชน ผู้ปลูกกัญชาอื่นๆ ให้ดำเนินการตามแนวทางได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย ทั้งนี้ กัญชาถือเป็นพืชที่มีประโยชน์ทั้งการแพทย์ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ สามารถสร้างรายได้ให้เกษตรกร รวมถึงผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้อง ท้ายที่สุดคือสามารถส่งเสริมเศรษฐกิจทางเลือกของจังหวัดอุบลราชธานีได้ และ..
หากมีข้อสงสัยสามารถติดต่อได้ที่ กลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภคและเภสัชสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี เบอร์โทรศัพท์ 091-1644324










อุบลฯ "รับแสงแรกแห่งสยาม" ที่ผาแต้ม
Advertisements Share List อุทยานแห่งชาติผาแต้มจัด รับแสงแรกแห่งสยาม วันที่ 31 ธันวาคม 2564 ถึงวันที่ 1 มกราคม 2565 การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ณ อุทยานแห่งชาติผาแต้ม อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี ณ อุทยานแห่งชาติผาแต้ม อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี #ภายใต้มาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019