

ทีมท้องถิ่น อบจ. “คณะก้าวหน้า อุบลราชธานี” ร่วมกับเครือข่ายภาคประชาชน เชื่อมโยงการท่องเที่ยวทางน้ำ ส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชน
เมื่อวันที่ 28 พ.ค. 2563, นายเชษฐา ไชยสัตย์ “ว่าที่ผู้สมัคร” นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี (อบจ.) “คณะก้าวหน้า” นำทีมท้องถิ่นฯ พร้อมด้วยเครือข่ายจิตอาสาเพื่อการท่องเที่ยวภาคประชาชน ลงเรือล่องแม่น้ำมูลสำรวจและจัดเตรียมเส้นทางท่องเที่ยวทางน้ำ เชื่อมโยงสถานที่จุดท่องเที่ยวบริเวณสองฝั่งแม่น้ำมูล เยี่ยมเยือนชุมชนพื้นที่เครือข่ายในเขตเมืองอุบลราชธานีและอำเภอวารินชำราบ

นางสาวนรีภัสร์ ชมมาก ที่ปรึกษาชมรมศรีแม่มูลเครือข่ายภาคประชาชนจังหวัดอุบลราชธานี กล่าวว่า ได้เข้าร่วมกิจกรรมในฐานะที่มีส่วนในการส่งเสริมด้านผลิตภัณฑ์จากชุมชน โดยเฉพาะสินค้าด้านการเกษตรแปรรูปจากวิสาหกิจชุมชน ได้ร่วมกิจกรรมพัฒนาเชิงพื้นที่ (Area-Based Approach) สานต่อการยกระดับคุณภาพชุมชนท้องถิ่น เป้าหมายหลักเริ่มจากเขตเมืองเก่า-อนุสรณ์สถาน-พื้นที่กลางเมืองอุบล และชุมชนสองฝั่งแม่น้ำมูล, ตามแนวคิดกระบวนการเชื่อมโยงผลประโยชน์จากการท่องเที่ยวไปยังชุมชนให้ได้รับประโยชน์ร่วมกัน เพื่อสร้างงานสร้างอาชีพ เพิ่มพูนรายได้ครัวเรือนและร่วมฟื้นฟูเศรษฐกิจในชุมชน ภายหลังสถานการณ์โควิด-19

ทางด้านนายเชษฐา ไชยสัตย์ “ว่าที่ผู้สมัคร” นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี (อบจ.) “คณะก้าวหน้า” ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า ในวันนี้ “คณะก้าวหน้าอุบลราชธานี” และภาคีเครือข่ายฯ ได้ล่องลำน้ำมูลโดยเรือยนต์ท้องถิ่น จากท่าน้ำวัดหลวง (วัดแห่งแรกของการสร้างเมืองอุบล) ตามเส้นทางสถานที่ต่างๆ ซึ่งมีศักยภาพทางการท่องเที่ยวหลายแห่งโดยเฉพาะอย่างยิ่งได้นำคณะเยือนชุมชน “บ้านช่างหม้อ” หมู่ที่ 5 ตำบลคำน้ำแซบ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี

นายสุบรรณ บุญงาม ปราชญ์ชาวบ้าน ได้เล่าถึงความเป็นมาของชุมชน “บ้านช่างหม้อ” ว่า บรรพบุรุษได้อพยพมาจากจังหวัดนครราชสีมา เดิมประกอบอาชีพปั้นหม้อดินเหนียว ต่อมาปรับเปลี่ยนอาชีพเป็นปั้นเตาอั้งโล่ เนื่องจากประสบปัญหาวัตถุดิบในการปั้นหม้อดิน (ดินเหนียวเนื้อละเอียดดี) ขาดแคลนและหายาก ปัจจุบันมีประชากร 175 ครัวเรือน และยังคงมีอาชีพปั้นเตา อยู่ราว 113 ครัวเรือน ปราชญ์ชาวบ้าน กล่าวต่อไปว่า ตนได้สืบสานอาชีพช่างปั้นหม้อ-เตาโบราณ นับเนื่องได้ 5 ชั่วอายุคนแล้ว โดยการปั้นเตาฯ มีขั้นตอนการผลิตที่ต้องพิถีพิถันมาก เริ่มจากการเตรียมดิน (หมัก-หม่าดิน, ปั่นดินเหนียวกับแกลบดำ) ขึ้นรูปโดยใช้แม่พิมพ์ปูน, ติดหูเตา-ปาดตกแต่งและเจาะประตูเตา, นำไปย้อมสี, เข้าเตาเผา ซึ่งมีทั้งแบบปิดและแบบเปิด (10-12 ชั่วโมง) จนถึงขั้นตอนการประกอบเตา




นายเชษฐา ไชยสัตย์ ได้กล่าวในตอนท้ายว่า การท่องเที่ยวโดยชุมชนมีความซับซ้อนในการจัดการ และมีความยากของกระบวนการที่สร้างให้เกิดการมีส่วนร่วม, ทำอย่างไรให้ชุมชนมีความรู้สึกร่วมเป็นเจ้าของ, ร่วมกำหนดทิศทางและตัดสินใจ ให้เกิดความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิต รักษาไว้ซึ่งอัตตลักษณ์แห่งวัฒนธรรมและประเพณีท้องถิ่น, สร้างความภาคภูมิใจในตนเอง-ในถิ่นที่อยู่, เกิดผลตอบแทนที่เป็นธรรมและทั่วถึงรายได้กระจายสู่ชุมชนและเครือข่ายในท้องถิ่น, แลกเปลี่ยนเรียนรู้เคารพในศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์และวัฒนธรรมที่ต่างกัน, ทั้งนี้ “การท่องเที่ยวโดยชุมชน” จะช่วย “สร้างเครือข่ายทางความคิด” ท้องถิ่นเข้มแข็งก้าวหน้า เศรษฐกิจก้าวไกล-ลดความเหลื่อมล้ำ, มุ่งสู่การท่องเที่ยวเพื่อคนทั้งมวล (Tourism for All) เกิดความยั่งยืน ชุมชนพึ่งพาตนเองได้ เป้าหมายสูงสุด คือ “ความสุข” ของประชาชน





MGC-ASIA กระตุ้นเศรษฐกิจอีสาน กับงาน ‘Best Deal Auto Show’ อุบลราชธานี
Advertisements Share List MGC-ASIA กระตุ้นเศรษฐกิจอีสาน กับงาน ‘Best Deal Auto Show’ อุบลราชธานี บริษัท มาสเตอร์กรุ๊ป คอร์ปอเรชั่น (เอเชีย) จำกัด หนึ่งในผู้นำธุรกิจค้าปลีกรถยนต์ และ mobility ในประเทศไทย ผลักดันยอดขายในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ยกทัพยนตรกรรม ในเครือ อาทิ บีเอ็มดับเบิลยู, มินิ, เปอโยต์, ฮาร์ลีย์-เดวดิสัน และรถมือสองจาก มาสเตอร์ เซอร์ทิฟายด์ ยูสคาร์ ร่วมงาน ‘Best Deal Auto Show At MGC-ASIA Autoplex Ubon Ratchathani’ ระหว่างวันที่ 23-28 กรกฎาคม 2563 ณ โชว์รูม มิลเลนเนียม ออโต้ จังหวัด อุบลราชธานี อนุสรณ์ วาณิชสำราญ ผู้จัดการทั่วไป […]